Can't find topic? find here

Adsense

Friday, July 31, 2009

เรื่องจริงในประวัติศาสตร์กับ H-file

1.โลกนี้แทบจะไม่ให้อภัยนักโทษ หรือผู้ต้องสงสัยในคดีความ

2.คนมีอายุถึงแม้เก่งที่สุดก็ยังทำเรื่องผิดพลาดในประวัติศาสตร์ไดเ้อย่างเช่นนโปเลียน และฮิตเลอร์

3.คนอายุมากบางคนไม่รู้อะไรเลยแต่ก็ยังหวงก้างไม่ยอมให้ใครมาแย่งตำแหน่งของตน

4.ผู้็หญิงมักจะกลายเป็นจุดอ่อนของผู้ชายและไม่เป็นที่ยอมรับในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ในโลก

5.แม่มดคือ นายแพทย์หญิงในสมัยนั้นที่มันล่าแม้มดกันในศัตวรรษที่8-14

6.คนที่เกิดมาเป็นซามูไรหรือโรนิน คือซวยสุดๆ เพราะถ้าทำเรื่องผิดพลาดแม้จะเล็กน้อย ก็จะต้อง คว้านท้องฆ่าตัวตาย หรือทำยังไงก็ได้ให้มันตาย

7.ในยุคสงครามโลกฮิตเลอร์โหดน้อยกว่าโตโจ ฮิเดกิ(นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยโชวะหรือ193x-1945)

8.หนังสงครามอิงประวัติศาสตร์ที่จริงๆเลยมักจะถูกห้ามฉายเพราะมันจะกระทบประเทศผู้แพ้่หรือผู้ที่เอาชนะโดยวิธีฉลาดแกมโกง

9.ประเทศที่คลั่งชาติมักจะเบียดเบียนคนอื่นและประวัติศาสตร์ไม่มากก็น้อย(ขอสงวนที่จะบอกแค่นี้)

10.ทุกคนอยากเป็นอมตะอยากอยู่ค้ำฟ้าแต่สุดท้ายก็อยู่ไม่ได้เพราะแม้แต่จักรพรรดิจิ๋นซี ฮ่องเต้ยังทำไม่ได้

11.คนเรามักจะตายกับสิ่งที่คาดไม่ถึง เช่น จิ๋นซีพระองค์อยากเป็นอมตะจนไปกินยาพิษที่มือสังหารแอบใส่มากับยา หรือจอห์น ฟิคกาลาด เคเนดี้ถูกซุ่มยิงจากระยะไกล้อย่างคาดไม่ถึง อาร์ดยุค เฟอร์ดินาน(เชื้อพระวงเทศออสเตรีย-ฮังการี) ถูกยิงในระยะเผาขนจนเกรียม

12.คนเรามักจะพยายามปิดบังความจริง

13.ระเบิดนิวเคลียร์ร้ายน้อยกว่าระเบิดไฮโดรเจน

14.แอนแทรกซ์ที่มีความรุนแรงอภิมหาภัยในปัจจุบันไม่มีทางสู้ตัวต้นแบบที่พัฒนาใน Unit 731ได้

15.จีนเป็นประเทศที่มีกำลังทหารมากพอที่จะทำลายโลกนี้ได้แต่เขาไม่ทำ

16.แต่ใหนแต่ไรมาถึงแม้ไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินยุคหลังจะมีเทคโนโลยีที่ล้าหลังแต่ก็ไม่มีใครกล้ามาสู้เลย ดีแต่ท้าและเล่นเลห์เหลี่ยมอย่างเดียว

17.ทั่วโลกอาณาจักร จักรวรรดิ สหพันธรัฐ สาธารณรัฐ เผ่า มลฑล หรือองค์กร มักจะล้มตายหรือล่มสลายลงเมื่อมีผู้นำและคนอ่อนแอ โง่ อ่อนหัด เก่ง ฉลาด จน เจริญ และรวย เกินไป

18.คนเราส่วนใหญ่ไม่ยอมเรียนรู้อะไรในประวัติศาสตร์ก่อนจะทำอะัไร

19.แมรี่ อองตัวเบตเป็นตัวการที่ทำให้หลุยส์ที่16(XXVI?)และโลกนี้มีการนำกษัตริย์ของตนเองมาประหารต่อหน้าประชาชนเป็นครั้ง และกีโยตินก็เกิดขึ้นเพราะพระองค์

20.โรมันกรีก อาหรับเก่งก็จริง แต่จีนในสมัยนั้นรุดหน้ากว่าในทุกๆเรื่อง

21. สปาตันมีเกราะแต่ในหนัง 300 ขุนศึกพันธ์สะท้านโลก กลับนุ่งผ้าเตี่ยวตัวเดียว

22. อเมริกามีเทคโนโลยีแต่คนไม่ค่อยมีกำลังใจในการต่อสู้
เท่าใดนัก

Tuesday, July 28, 2009

ประวัติทหารกองจักรวรรดิญี่ปุ่น ชุดสอง

จักรวรรดิญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น
Empire of Greater Japan
大日本帝國
ไดนิปปงเทโงะกุ
ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
รัฐบาลโชกุนโทะคุงะวะ
อาณาจักรริวกิว
จักรวรรดิเกาหลี
สาธารณรัฐเอโซะ
สาธารณรัฐไต้หวัน (ค.ศ. 1895)
ดูด้านล่าง
พ.ศ. 2411 - 2488 การปกครองโดยฝ่ายพันธมิตรในญี่ปุ่น
สหภาพโซเวียต
เกาหลีเหนือ
เกาหลีใต้
จีน
ดูด้านล่าง
แผนที่แสดงที่ตั้ง ของจักรวรรดิญี่ปุ่น
จักรวรรดิญี่ปุ่น (อักษรญี่ปุ่นตัวเก่า: 大日本帝國; อักษรญี่ปุ่นตัวใหม่: 大日本帝国) คือรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจ คือคาบสมุทรเกาหลีและเกาะไต้หวันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น

เนื้อหา



สงครามในเกาหลี


            แผนที่แสดงประเทศในฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ
ญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลีเข้าเป็นดินแดนของตนตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลีเมื่อปี พ.ศ. 2453 ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นที่ยอมรับของญี่ปุ่นฝ่ายเดียว แต่ไม่เป็นที่ยอมรับทางฝ่ายเกาหลี เพราะถือว่าไม่มีการลงนามของจักรพรรดิเกาหลี เกาหลีถูกญี่ปุ่นปกครองจนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488
ในระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น มีการสร้างระบบคมนาคมแบบตะวันตก แต่ส่วนใหญ่เพื่อประโยชน์ทางการค้าของญี่ปุ่นมากกว่าประโยชน์ของชาวเกาหลี ญี่ปุ่นล้มล้างราชวงศ์โชซอน ทำลายพระราชวัง ปรับปรุงระบบภาษี ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนและทำเหมืองแร่
หลังการสวรรคตของพระเจ้าโกจง (Gojong) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2461 ด้วยยาพิษ ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2461 ผลจากการลุกฮือขึ้นเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น ชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมากถูกฆ่าหรือเผาในโบสถ์ระหว่างการเรียกร้องเอกราชมี การจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลีที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลังจากการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น
การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นยังงมีอยู่ต่อไป เช่น การลุกฮือของนักศึกษาทั่วประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2472 จนนำไปสู่การประกาศกฏอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2474 หลังจากเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นพยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี การสอนประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียนถูกห้าม การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น[1] สิ่งของมีค่าถุกนำออกจากเกาหลีไปยังญี่ปุ่น.[2] หนังสือพิมพ์ถูกห้ามตีพิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จำนวนมากถูกเผาทำลาย
ชาวเกาหลีจำนวนมากอพยพออกจากเกาหลีไปสู่แมนจูเรียและรัสเซีย ชาวเกาหลีในแมนจูเรียจัดตั้งขบวนการกู้เอกราชชื่อ “ดุงนิปกุน” (Dungnipgun) ขบวนการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำสงครามกองโจรกับกองทัพญี่ปุ่น กองทัพเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกองทัพปลดปล่อยเกาหลี เมื่อราว พ.ศ. 2483 เคลื่อนไหวในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่าหมื่นคนเข้าร่วมในกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพปฏิวัติแห่ง ชาติ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น และมีชายชาวเกาหลีอีกจำนานมากที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น[3] ผู้หญิงจากจีนและเกาหลีราว 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น[4]

สงครามในจีน


อาณานิคมและดินแดนที่ยอมอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อปี 1942
เมื่อเกิดการปะทะกับญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโลเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ชาวจีนจำนวนมากได้ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีจีนได้ร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตแห่งชาติ แต่ผลที่ออกมาคือล้มเหลว รวมทั้งสนธิสัญญา 9 มหาอำนาจด้วย และเมื่อเกิดการปะทะกับญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโลใกล้กรุงปักกิ่งจึงเป็นข้ออ้างที่ทางการญี่ปุ่นส่งทหารญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองใหญ่ต่างๆ ของจีนรวมทั้งชายฝั่งทางเหนือจรดใต้
เหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล(Marco Polo Bridge Incident) คือการรบระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีน เป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2480-2488) ตัวสะพานหินอ่อนสถานที่เกิดเหตุการณ์ มีชื่อว่า สะพานลูกัว (Lugou Bridge) ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะพานมาร์โค โปโล โครงสร้างเป็นสถาปัตยกรรมโค้ง 11 โค้งอันสวยงาม ปฏิสังขรโดยจักรพรรดิกังสี (พ.ศ. 2205-2265)
ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียเมื่อปี พ.ศ. 2474 แล้วสถาปนาประเทศใหม่ แมนจูกัว พร้อมกับให้เฮนรี ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลหุ่นที่เชิดโดยกองกำลังญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่นั่น แม้พรรคก๊กมินตั๋งและนานาประเทศไม่ยอมรับรองแต่กลับมีการเจรจาสงบศึกในปีเดียวกัน
ในปีต่อมา กองทัพจักรววรรดิญี่ปุ่นเริ่มรุกรานดินแดนจีนที่จังหวัดชาฮา ถูกต่อต้านโดยกองทัพก๊กมินตั๋ง กองพลที่ 29 ที่ยังคงใช้หอกดาบและอาวุธล้าสมัยอยู่จึงพ่ายแพ้ ทำให้ภาคตะวันตกของปักกิ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น จากนั้นญี่ปุ่นก็ค่อยๆ บุกรุกและผนวกแผ่นดินจีนไปเรื่อยๆ ถึงปี พ.ศ. 2480 ก็สามารถยึดครองแผ่นดินโดยรอบกรุงปักกิ่งไว้ได้เกือบหมดเหลือเฉพาะด้านใต้ ญี่ปุ่นได้ตั้งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นปกครองเขตพื้นที่ที่ยึดได้อีกหลายแห่งรวม ทั้งที่เมืองนานกิง
ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นส่งทหารจำนวนหลายร้อยนายมาตั้งหน่วยประจำที่สะพานมาร์โค โปโลและทำการฝึกอยู่ที่นั่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังทหารจีนก๊กมินตั๋งที่ประจำอยู่ที่เมืองวันปิง ใกล้ๆ กัน คอยเฝ้าระวังดูอยู่อย่างใกล้ชิด ในเช้าตรู่วันที่ 7 กรกฎาคม กองกำลังญี่ปุ่นได้โทรเลขไปถึงกองกำลังก๊กมินตั๋งว่ามีทหารของตนหายไปและ เชื่อว่าไปซ่อนอยู่ในเมืองวันปิงจึงของเข้าไปค้นหา (ภายหลังได้พบตัวโดยไม่ได้รับอันตราย) มีข้อถกเถียงกันว่าเป็นเหตุบังอิญหรือเป็นการสร้างเรื่องของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อใช้อ้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นบุกเข้ายึดภาคกลางของประเทศจีน
ฝ่ายจีนปฏิเสธไม่ยอมให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าเมือง ในตอนเย็นวันนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดให้ฝ่ายจีนยอมให้ฝ่ายตนบุกเข้าไปค้นคนในเมืองได้ภาย ใน 1 ชั่วโมง มิฉนั้นจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ ครั้นเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ญี่ปุ่นเริ่มยิงปืนใหญ่และเคลื่อนกองกำลังข้ามสะพานมาโคโปโลตรงไปจะเข้า เมือง ฝ่ายก๊กมินตั๋งจึงส่งทหารจำนวน 1000 นาย เข้าป้องกันสะพานอย่างสุดความสามารถ แต่ญี่ปุ่นก็บุกข้ามไปได้ แต่หลังจากได้รับกำลังเสริมที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายจีนจึงสามารถยึดสะพานคืนได้สำเร็จในวันต่อมา ญี่ปุ่นด้วยจำนวนกองกำลังที่น้อยกว่าจึงขอเจรจา ทำให้เหตุการณ์ขั้นที่ 1 สงบลงได้ชั่วคราว แต่กองกำลังญี่ปุ่นยังคงตั้งประจำอยู่ที่เดิมไม่ยอมถอย

กองกำลังฝ่ายจีนกำลังป้องกันสะพานมาร์โค โปโล
ฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ประชุมกันและตกลงว่าจะยึดสะพานต่อไปและพยายามที่จะไม่ เจรจากับญี่ปุ่น เพราะเชื่อถือไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายจีนได้ส่งคนไปเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ฝ่ายญี่ปุ่นยอมเจรจาแต่จะถือว่าหากจีนเพิ่มกองกำลังก็จะถือว่าเป็นการยั่วยุ ซึ่งโดยแท้จริงขณะนั้นฝ่ายญี่ปุ่นกำลังซื้อเวลาด้วยการยอมเจรจาเพื่อรอการ เคลื่อนย้ายกองกำลังจากส่วนอื่นมาสมทบ
การเจรจาครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่รุกรานปักกิ่งและเทียนสิน แต่ฝ่ายจีนต้องทำการปราบปราบองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นในเมืองทั้งสอง จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ประทะกันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่สะพานมาโคโปโล และจะต้องให้นายพลซังผู้บัญชาการกองพล 29 เท่านั้นเป็นผู้มาขอขมาต่อกองกำลังญี่ปุ่น เมื่อฝ่ายจีนไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ทั้งหมด ฝ่ายญี่ปุ่นจึงบุกเข้ากรุงปักกิ่งโดยใช้กองกำลังเต็มอัตราที่มีอยู่ กองกำลังฝ่ายจีนกองพันที่ 37 และ132 พยายามฝ่าแนวญี่ปุ่นเข้านครปักกิ่งและถูกปิดกั้นอย่างหนักและก็สามารถฝ่า เข้าไปได้อย่างบอบช้ำ หลายวันต่อมาเมื่อถูกล้อมหนักมากขึ้น กองพล 29 จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไปจากกรุงปักกิ่งแต่ก็ถูกล้อมอีก กองทัพญี่ปุ่นสามารถเข้ากรุงปักกิ่งได้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม โดยปราศจากการต่อต้านและตั้งนายพลซังเป็นนายกเทศมนตรี แต่เขาก็หนีออกจากเมืองไปอย่างลับๆ ในสัปดาห์ต่อมา

สะพานมาร์โค โปโลในปัจจุบัน
หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนสินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัย ต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจน กระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2480

ญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2


แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามในการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หลังเกิดการโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์

[แก้] ชนวนก่อเหตุ

สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของจีน (ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ ได้
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น (ประชาธิปไตย) ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ "สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง (จุงกิง) และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่าย หนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึก โกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกัน กลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้
การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรืออริโซน่า ที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย

สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์

สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ มลรัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในการโจมตีนี้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายกองทัพสหรัฐอเมริกามาก โดยเรือสงครามสูญเสีย 12 ลำ เครื่องบิน 188 ลำ ทหารอเมริกันเสียชีวิต 2,403 คน และ ประชาชน 68 คน

เรือรบสงครามของอเมริกาถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น

สงครามมหาเอเชียบูรพา

สงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นคำที่ใช้กันในกองบัญชาการทัพแห่งจักรพรรดิญี่ปุ่น เริ่มใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 หมายถึง สงครามในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเกิดขึ้นจากการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 1930 ถึง 1940
สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันบุกเข้าโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป หลังจากนั้นเยอรมันโจมตีอังกฤษทางอากาศและรุกเข้าสหภาพโซเวียต ขณะที่สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลาง
ในทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2481[5] ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นยังได้ทำสัญญาร่วมมือกับเยอรมนีและอิตาลี เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร
ประเทศไทยในขณะนั้นประกาศตัวเป็นกลาง พยายามรักษาสัมพันธไมตรีกับทุกฝ่าย โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกับทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2483 อีกทั้งยังลงนามสนธิสัญญาการเจริญสัมพันธไมตรีและการเคารพต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขตของกันและกันกับญี่ปุ่นในวันเดียวกันที่กรุงโตเกียว
เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงส่งกำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน อันประกอบด้วยเวียดนาม กัมพูชา และลาว การแผ่อำนาจครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และเนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังสกัดกั้นโดยอาศัยเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ด้วยการงดจำหน่ายสินค้าที่เป็นประโยชน์ในสงครามต่อญี่ปุ่นโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งทำให้สถานการณ์ตึงเครียด

ธงจักรวรรดินาวีญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นบุกไทย

เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (วันที่ 7 ธันวาคม ตามเวลาในฮาวาย) ญี่ปุ่นเปิดแนวรบในเอเชียตะวันออก โจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ในฮาวาย ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งเกาะฮ่องกงของอังกฤษ เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา และเมืองโกตาบารูในแหลมมลายู โดยมิได้ประกาศสงครามล่วงหน้า
ก่อนหน้าการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ไม่กี่ชั่วโมง คืนวันที่ 7 ธันวาคม ขณะที่ในกรุงเทพฯ มีงานฉลองรัฐธรรมนูญ สถานีวิทยุบีบีซี รายงานว่ามีความเคลื่อนไหวของขบวนเรือญี่ปุ่นในอ่าวไทย ทำให้เกิดข่าวลือว่าญี่ปุ่นจะบุกไทย ค่ำวันนั้นเอกอัครราชทูตอังกฤษได้เข้าพบ ศ.ดร.ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทูตรายงานว่าเครื่องบินตรวจการณ์ของอังกฤษเห็นกองเรือรบญี่ปุ่นเดินทางมาจาก แหลมญวนและกำลังอยู่ในอ่าวไทย ไม่นานหลังจากนั้น ญี่ปุ่นได้ส่งเอกอัครราชทูตเข้ามาขอพบนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อเจรจาขอเดินทัพผ่านประเทศไทย โดยประสงค์จะเดินทางข้ามไปยังพม่าและมลายูซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ แต่ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีไปต่างจังหวัด
ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่ทันได้โต้ตอบใด ๆ กองทัพญี่ปุ่นก็ไม่รอช้า บุกเข้าสู่แผ่นดินไทยเมื่อเวลา 2.00 น. จากชายแดนด้านทิศตะวันออก พร้อมกับส่งกองกำลังในอ่าวไทย ยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรปราการ โดยมีทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร ลูกเสือ และอาสาสมัครต่าง ๆ ต่อสู้ทัดทานการรุกรานในครั้งนี้ของญี่ปุ่น
รัฐบาลไทยพิจารณาเห็นว่าไทยมิอาจต้านทานกองกำลังญี่ปุ่นได้ ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะเคารพเอกราช อธิปไตย และเกียรติภูมิของไทย รัฐบาลจึงมีคำสั่งหยุดยิงและยุติการสู้รบเมื่อเวลา 7.30 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่าน (แต่การสู้รบในภาคใต้ยังดำเนินอยู่จนถึงบ่ายโมง กว่าที่คำสั่งหยุดยิงจะไปถึง) จอมพล ป.พิบูลสงครามตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจลงนามทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ความร่วมมือกับญี่ปุ่นในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ญี่ปุ่นจะยกดินแดนไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ซึ่งเคยตกเป็นของอังกฤษคืนให้แก่ไทย และนำไปสู่การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485

แผนที่แสดงการบุกของกองทัพญี่ปุ่น

เรือ Intrepid (CV-11) ถูกฝูงบินกามิกาเซ่โจมตี (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487)

สมรภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                 หากไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดน ที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด

เครื่องบิน 52c Zeroes ถูกส่งจากเกาหลีสู่เกาะคิวชู (ต้นปี พ.ศ. 2488)

สิ้นสุดสงคราม

            สาเหตุที่เกิดสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศญี่ปุ่นบุกโจมตี จีนเพื่อขยายอาณาเขตประเทศ แล้วจีนก็ขอความช่วยเหลือจากอเมริกา อเมกาจึงงดค้าน้ำมันให้ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงบุกโจมตี"เพิร์ลฮาร์เบอร์" (ตั้งอยู่ในเกาะหนึ่งของฮาวาย) และญี่ปุ่นรุกคื่บบุกโจมตีประเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยัง สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ไทย จีนตอนใต้บุกฟิลิปปินส์ อเมริกาส่งกองทัพมาช่วยและนั้นคือการเผยโฉมเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลกของญี่ปุ่น คือ "เรือประจัญบานยามาโตะ" บุกโจมตีอเมริกา แต่ยุคของเรือรบกลายเป็นยุคของเครื่องบินทิ้งระเบีดเสียแล้ว ทำให้ยามาโต้ล่มลงในปี ค.ศ. 1945 ต่อมาอีกไม่กี่วันระเบิดนิวเคลียร์ก็ได้ถูกทิ้งลงที่ฮิโรชิม่า แต่ญี่ปุ่นยังไม่ยอมแพ้ ทำให้อเมริกาจำเป็นต้องทิ้งนิวเคลียร์ อีก 1 ลูกที่นางาซากิ ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้สงคราม ญี่ปุ่นเสียทหารไปมากกว่า 190,000 คน ประชาชน 50,000 คน
วัตถุดิบของอาวุธนิวเคลียร์ มีดังนี้
  • แร่ยูเรเนี่ยม 50.000 กิโลกรัม
  • ไนโตรเจน 1.200 กรัม
  • กำมะถัน 50.000 กรัม
  • และส่วนประกอบที่ยังเป็นความลับอีก 90 ชนิด
นี่คือส่วนประกอบของนิวเคลียร์ที่ลงที่ฮิโรชิม่า

 อ้างอิง

  1. ^ 宮田 節子 [Miyata, Setsuko]. "創氏改名" [Creating Surnames and Changing Given Names}, 明石書店 [Akashi-shoten], 1992, al. ISBN 4-7503-0406-9
  2. ^ [1]
  3. ^ 山脇 啓造 Yamawaki, Keizo. 近代日本と外国人労働者―1890年代後半と1920年代前半における中国人・朝鮮人労働者問題 Modern Japan and Foreign Laborers: Chinese and Korean Laborers in the late 1890s and early 1920s, 明石書店 Akashi-shoten, 1994, et al. ISBN 4-7503-0568-5
  4. ^ http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/03/29/japan.comfort.women/index.html] [2] [3] Comfort-Women.org
  5. ^ International Military Tribunal for the Far East เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2549

เมฆรูปเห็ดสูง 18 กิโลเมตร ที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ ที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง

Feed up

Freebacklink