จักรวรรดิญี่ปุ่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิญี่ปุ่น (อักษรญี่ปุ่นตัวเก่า: 大日本帝國; อักษรญี่ปุ่นตัวใหม่: 大日本帝国) คือรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจ คือคาบสมุทรเกาหลีและเกาะไต้หวันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
เนื้อหา |
สงครามในเกาหลี
ญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลีเข้าเป็นดินแดนของตนตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลีเมื่อปี พ.ศ. 2453 ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นที่ยอมรับของญี่ปุ่นฝ่ายเดียว แต่ไม่เป็นที่ยอมรับทางฝ่ายเกาหลี เพราะถือว่าไม่มีการลงนามของจักรพรรดิเกาหลี เกาหลีถูกญี่ปุ่นปกครองจนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488ในระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น มีการสร้างระบบคมนาคมแบบตะวันตก แต่ส่วนใหญ่เพื่อประโยชน์ทางการค้าของญี่ปุ่นมากกว่าประโยชน์ของชาวเกาหลี ญี่ปุ่นล้มล้างราชวงศ์โชซอน ทำลายพระราชวัง ปรับปรุงระบบภาษี ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนและทำเหมืองแร่
หลังการสวรรคตของพระเจ้าโกจง (Gojong) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2461 ด้วยยาพิษ ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2461 ผลจากการลุกฮือขึ้นเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น ชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมากถูกฆ่าหรือเผาในโบสถ์ระหว่างการเรียกร้องเอกราชมี การจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลีที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลังจากการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น
การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นยังงมีอยู่ต่อไป เช่น การลุกฮือของนักศึกษาทั่วประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2472 จนนำไปสู่การประกาศกฏอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2474 หลังจากเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นพยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี การสอนประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียนถูกห้าม การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น[1] สิ่งของมีค่าถุกนำออกจากเกาหลีไปยังญี่ปุ่น.[2] หนังสือพิมพ์ถูกห้ามตีพิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จำนวนมากถูกเผาทำลาย
ชาวเกาหลีจำนวนมากอพยพออกจากเกาหลีไปสู่แมนจูเรียและรัสเซีย ชาวเกาหลีในแมนจูเรียจัดตั้งขบวนการกู้เอกราชชื่อ “ดุงนิปกุน” (Dungnipgun) ขบวนการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำสงครามกองโจรกับกองทัพญี่ปุ่น กองทัพเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกองทัพปลดปล่อยเกาหลี เมื่อราว พ.ศ. 2483 เคลื่อนไหวในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่าหมื่นคนเข้าร่วมในกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพปฏิวัติแห่ง ชาติ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น และมีชายชาวเกาหลีอีกจำนานมากที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น[3] ผู้หญิงจากจีนและเกาหลีราว 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น[4]
สงครามในจีน
เมื่อเกิดการปะทะกับญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโลเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ชาวจีนจำนวนมากได้ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีจีนได้ร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตแห่งชาติ แต่ผลที่ออกมาคือล้มเหลว รวมทั้งสนธิสัญญา 9 มหาอำนาจด้วย และเมื่อเกิดการปะทะกับญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโลใกล้กรุงปักกิ่งจึงเป็นข้ออ้างที่ทางการญี่ปุ่นส่งทหารญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองใหญ่ต่างๆ ของจีนรวมทั้งชายฝั่งทางเหนือจรดใต้เหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล(Marco Polo Bridge Incident) คือการรบระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีน เป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2480-2488) ตัวสะพานหินอ่อนสถานที่เกิดเหตุการณ์ มีชื่อว่า สะพานลูกัว (Lugou Bridge) ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะพานมาร์โค โปโล โครงสร้างเป็นสถาปัตยกรรมโค้ง 11 โค้งอันสวยงาม ปฏิสังขรโดยจักรพรรดิกังสี (พ.ศ. 2205-2265)
ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียเมื่อปี พ.ศ. 2474 แล้วสถาปนาประเทศใหม่ “แมนจูกัว” พร้อมกับให้เฮนรี ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลหุ่นที่เชิดโดยกองกำลังญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่นั่น แม้พรรคก๊กมินตั๋งและนานาประเทศไม่ยอมรับรองแต่กลับมีการเจรจาสงบศึกในปีเดียวกัน
ในปีต่อมา กองทัพจักรววรรดิญี่ปุ่นเริ่มรุกรานดินแดนจีนที่จังหวัดชาฮา ถูกต่อต้านโดยกองทัพก๊กมินตั๋ง กองพลที่ 29 ที่ยังคงใช้หอกดาบและอาวุธล้าสมัยอยู่จึงพ่ายแพ้ ทำให้ภาคตะวันตกของปักกิ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น จากนั้นญี่ปุ่นก็ค่อยๆ บุกรุกและผนวกแผ่นดินจีนไปเรื่อยๆ ถึงปี พ.ศ. 2480 ก็สามารถยึดครองแผ่นดินโดยรอบกรุงปักกิ่งไว้ได้เกือบหมดเหลือเฉพาะด้านใต้ ญี่ปุ่นได้ตั้งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นปกครองเขตพื้นที่ที่ยึดได้อีกหลายแห่งรวม ทั้งที่เมืองนานกิง
ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นส่งทหารจำนวนหลายร้อยนายมาตั้งหน่วยประจำที่สะพานมาร์โค โปโลและทำการฝึกอยู่ที่นั่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังทหารจีนก๊กมินตั๋งที่ประจำอยู่ที่เมืองวันปิง ใกล้ๆ กัน คอยเฝ้าระวังดูอยู่อย่างใกล้ชิด ในเช้าตรู่วันที่ 7 กรกฎาคม กองกำลังญี่ปุ่นได้โทรเลขไปถึงกองกำลังก๊กมินตั๋งว่ามีทหารของตนหายไปและ เชื่อว่าไปซ่อนอยู่ในเมืองวันปิงจึงของเข้าไปค้นหา (ภายหลังได้พบตัวโดยไม่ได้รับอันตราย) มีข้อถกเถียงกันว่าเป็นเหตุบังอิญหรือเป็นการสร้างเรื่องของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อใช้อ้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นบุกเข้ายึดภาคกลางของประเทศจีน
ฝ่ายจีนปฏิเสธไม่ยอมให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าเมือง ในตอนเย็นวันนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดให้ฝ่ายจีนยอมให้ฝ่ายตนบุกเข้าไปค้นคนในเมืองได้ภาย ใน 1 ชั่วโมง มิฉนั้นจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ ครั้นเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ญี่ปุ่นเริ่มยิงปืนใหญ่และเคลื่อนกองกำลังข้ามสะพานมาโคโปโลตรงไปจะเข้า เมือง ฝ่ายก๊กมินตั๋งจึงส่งทหารจำนวน 1000 นาย เข้าป้องกันสะพานอย่างสุดความสามารถ แต่ญี่ปุ่นก็บุกข้ามไปได้ แต่หลังจากได้รับกำลังเสริมที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายจีนจึงสามารถยึดสะพานคืนได้สำเร็จในวันต่อมา ญี่ปุ่นด้วยจำนวนกองกำลังที่น้อยกว่าจึงขอเจรจา ทำให้เหตุการณ์ขั้นที่ 1 สงบลงได้ชั่วคราว แต่กองกำลังญี่ปุ่นยังคงตั้งประจำอยู่ที่เดิมไม่ยอมถอย
ฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ประชุมกันและตกลงว่าจะยึดสะพานต่อไปและพยายามที่จะไม่ เจรจากับญี่ปุ่น เพราะเชื่อถือไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายจีนได้ส่งคนไปเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ฝ่ายญี่ปุ่นยอมเจรจาแต่จะถือว่าหากจีนเพิ่มกองกำลังก็จะถือว่าเป็นการยั่วยุ ซึ่งโดยแท้จริงขณะนั้นฝ่ายญี่ปุ่นกำลังซื้อเวลาด้วยการยอมเจรจาเพื่อรอการ เคลื่อนย้ายกองกำลังจากส่วนอื่นมาสมทบ
การเจรจาครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่รุกรานปักกิ่งและเทียนสิน แต่ฝ่ายจีนต้องทำการปราบปราบองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นในเมืองทั้งสอง จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ประทะกันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่สะพานมาโคโปโล และจะต้องให้นายพลซังผู้บัญชาการกองพล 29 เท่านั้นเป็นผู้มาขอขมาต่อกองกำลังญี่ปุ่น เมื่อฝ่ายจีนไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ทั้งหมด ฝ่ายญี่ปุ่นจึงบุกเข้ากรุงปักกิ่งโดยใช้กองกำลังเต็มอัตราที่มีอยู่ กองกำลังฝ่ายจีนกองพันที่ 37 และ132 พยายามฝ่าแนวญี่ปุ่นเข้านครปักกิ่งและถูกปิดกั้นอย่างหนักและก็สามารถฝ่า เข้าไปได้อย่างบอบช้ำ หลายวันต่อมาเมื่อถูกล้อมหนักมากขึ้น กองพล 29 จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไปจากกรุงปักกิ่งแต่ก็ถูกล้อมอีก กองทัพญี่ปุ่นสามารถเข้ากรุงปักกิ่งได้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม โดยปราศจากการต่อต้านและตั้งนายพลซังเป็นนายกเทศมนตรี แต่เขาก็หนีออกจากเมืองไปอย่างลับๆ ในสัปดาห์ต่อมา
หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนสินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัย ต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจน กระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2480
ญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้] ชนวนก่อเหตุ
สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของจีน (ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ ได้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น (ประชาธิปไตย) ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ "สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง (จุงกิง) และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่าย หนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึก โกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกัน กลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้
การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรืออริโซน่า ที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย
สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์
สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ มลรัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในการโจมตีนี้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายกองทัพสหรัฐอเมริกามาก โดยเรือสงครามสูญเสีย 12 ลำ เครื่องบิน 188 ลำ ทหารอเมริกันเสียชีวิต 2,403 คน และ ประชาชน 68 คนสงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นคำที่ใช้กันในกองบัญชาการทัพแห่งจักรพรรดิญี่ปุ่น เริ่มใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 หมายถึง สงครามในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเกิดขึ้นจากการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 1930 ถึง 1940สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันบุกเข้าโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป หลังจากนั้นเยอรมันโจมตีอังกฤษทางอากาศและรุกเข้าสหภาพโซเวียต ขณะที่สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลาง
ในทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2481[5] ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นยังได้ทำสัญญาร่วมมือกับเยอรมนีและอิตาลี เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร
ประเทศไทยในขณะนั้นประกาศตัวเป็นกลาง พยายามรักษาสัมพันธไมตรีกับทุกฝ่าย โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกับทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2483 อีกทั้งยังลงนามสนธิสัญญาการเจริญสัมพันธไมตรีและการเคารพต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขตของกันและกันกับญี่ปุ่นในวันเดียวกันที่กรุงโตเกียว
เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงส่งกำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน อันประกอบด้วยเวียดนาม กัมพูชา และลาว การแผ่อำนาจครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และเนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังสกัดกั้นโดยอาศัยเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ด้วยการงดจำหน่ายสินค้าที่เป็นประโยชน์ในสงครามต่อญี่ปุ่นโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งทำให้สถานการณ์ตึงเครียด
ญี่ปุ่นบุกไทย
เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (วันที่ 7 ธันวาคม ตามเวลาในฮาวาย) ญี่ปุ่นเปิดแนวรบในเอเชียตะวันออก โจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ในฮาวาย ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งเกาะฮ่องกงของอังกฤษ เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา และเมืองโกตาบารูในแหลมมลายู โดยมิได้ประกาศสงครามล่วงหน้าก่อนหน้าการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ไม่กี่ชั่วโมง คืนวันที่ 7 ธันวาคม ขณะที่ในกรุงเทพฯ มีงานฉลองรัฐธรรมนูญ สถานีวิทยุบีบีซี รายงานว่ามีความเคลื่อนไหวของขบวนเรือญี่ปุ่นในอ่าวไทย ทำให้เกิดข่าวลือว่าญี่ปุ่นจะบุกไทย ค่ำวันนั้นเอกอัครราชทูตอังกฤษได้เข้าพบ ศ.ดร.ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทูตรายงานว่าเครื่องบินตรวจการณ์ของอังกฤษเห็นกองเรือรบญี่ปุ่นเดินทางมาจาก แหลมญวนและกำลังอยู่ในอ่าวไทย ไม่นานหลังจากนั้น ญี่ปุ่นได้ส่งเอกอัครราชทูตเข้ามาขอพบนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อเจรจาขอเดินทัพผ่านประเทศไทย โดยประสงค์จะเดินทางข้ามไปยังพม่าและมลายูซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ แต่ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีไปต่างจังหวัด
ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่ทันได้โต้ตอบใด ๆ กองทัพญี่ปุ่นก็ไม่รอช้า บุกเข้าสู่แผ่นดินไทยเมื่อเวลา 2.00 น. จากชายแดนด้านทิศตะวันออก พร้อมกับส่งกองกำลังในอ่าวไทย ยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรปราการ โดยมีทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร ลูกเสือ และอาสาสมัครต่าง ๆ ต่อสู้ทัดทานการรุกรานในครั้งนี้ของญี่ปุ่น
รัฐบาลไทยพิจารณาเห็นว่าไทยมิอาจต้านทานกองกำลังญี่ปุ่นได้ ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะเคารพเอกราช อธิปไตย และเกียรติภูมิของไทย รัฐบาลจึงมีคำสั่งหยุดยิงและยุติการสู้รบเมื่อเวลา 7.30 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่าน (แต่การสู้รบในภาคใต้ยังดำเนินอยู่จนถึงบ่ายโมง กว่าที่คำสั่งหยุดยิงจะไปถึง) จอมพล ป.พิบูลสงครามตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจลงนามทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ความร่วมมือกับญี่ปุ่นในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ญี่ปุ่นจะยกดินแดนไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ซึ่งเคยตกเป็นของอังกฤษคืนให้แก่ไทย และนำไปสู่การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485
สมรภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หากไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีฝรั่งเศสแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดน ที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุดสิ้นสุดสงคราม
สาเหตุที่เกิดสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศญี่ปุ่นบุกโจมตี จีนเพื่อขยายอาณาเขตประเทศ แล้วจีนก็ขอความช่วยเหลือจากอเมริกา อเมกาจึงงดค้าน้ำมันให้ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงบุกโจมตี"เพิร์ลฮาร์เบอร์" (ตั้งอยู่ในเกาะหนึ่งของฮาวาย) และญี่ปุ่นรุกคื่บบุกโจมตีประเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยัง สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ไทย จีนตอนใต้บุกฟิลิปปินส์ อเมริกาส่งกองทัพมาช่วยและนั้นคือการเผยโฉมเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลกของญี่ปุ่น คือ "เรือประจัญบานยามาโตะ" บุกโจมตีอเมริกา แต่ยุคของเรือรบกลายเป็นยุคของเครื่องบินทิ้งระเบีดเสียแล้ว ทำให้ยามาโต้ล่มลงในปี ค.ศ. 1945 ต่อมาอีกไม่กี่วันระเบิดนิวเคลียร์ก็ได้ถูกทิ้งลงที่ฮิโรชิม่า แต่ญี่ปุ่นยังไม่ยอมแพ้ ทำให้อเมริกาจำเป็นต้องทิ้งนิวเคลียร์ อีก 1 ลูกที่นางาซากิ ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้สงคราม ญี่ปุ่นเสียทหารไปมากกว่า 190,000 คน ประชาชน 50,000 คนวัตถุดิบของอาวุธนิวเคลียร์ มีดังนี้
- แร่ยูเรเนี่ยม 50.000 กิโลกรัม
- ไนโตรเจน 1.200 กรัม
- กำมะถัน 50.000 กรัม
- และส่วนประกอบที่ยังเป็นความลับอีก 90 ชนิด
อ้างอิง
- ^ 宮田 節子 [Miyata, Setsuko]. "創氏改名" [Creating Surnames and Changing Given Names}, 明石書店 [Akashi-shoten], 1992, al. ISBN 4-7503-0406-9
- ^ [1]
- ^ 山脇 啓造 Yamawaki, Keizo. 近代日本と外国人労働者―1890年代後半と1920年代前半における中国人・朝鮮人労働者問題 Modern Japan and Foreign Laborers: Chinese and Korean Laborers in the late 1890s and early 1920s, 明石書店 Akashi-shoten, 1994, et al. ISBN 4-7503-0568-5
- ^ http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/03/29/japan.comfort.women/index.html] [2] [3] Comfort-Women.org
- ^ International Military Tribunal for the Far East เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2549
No comments:
Post a Comment