Can't find topic? find here

Adsense

Tuesday, September 29, 2009

นายพลแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น:สึกิยามะ ฮาจิเมะ

Sugiyama Hajime
1มกราคม 1880 -  12 กรกฏาคม 1945 (อายุ 65ปี)
Sugiyama Hajime1.jpg
นายพลซูกิยามะ ฮาจิเมะ
เกิืดที่
โคคุระ ตำบลฟุกุโอกะ
Place of death
กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ปฏิบัติหน้าที่
War flag of the Imperial Japanese Army.svg ทหารกองจักรวรรดิญี่ปุ่น
ระยะเวลา
1901-1945
ตำแหน่ง
แม่ทัพของกองทหารเคลื่อนที่เร็ว
Battles/wars
สงครามรัสโซ-ญี่ปุ่น(ชิโน)
สงครามโลกครั้งที่สอง

                               ฮาจิเมะ ซึกิยามะ (杉山 元, Sugiyama Hajime / Sugiyama Gen, 1 มกราคม 1880 - 12 กันยายน 1945) นายทหารบก และสำเร็จราชการในฐานะ เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของกองทหาร และดำรงในฐานะรัฐมนตรีสงครามในกองจักรวรรดิญี่ปุ่นนะหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ประวัติ

                         เกิดในชนชั้น ซามูไรตระกูล  Kokura (และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมือง Kitakyushu), จังหวัดฟุกุโอกะ ดำรงตำแหน่งผู้หมวดในปี 1901และเข้าร่วมในสงครามชิโน-ญี่ปุ่น
และในปี1936 ได้เป็นนายพลเต็มตัวในฐานะผู้มีผลงานมากมาย


รูปสึกิยามะ วันที่ 1 มิถุนายน 1943

สงครามชิโน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

                           วันที่26 กุมภาพันธุ์ 1938 สึกิยามะได้เป็นรัฐมนตรีแห่งสงคราม ภายใต้การครองบครองตำแหน่งอันทรงอันเนื่องมาจาก สถานการณ์ระหว่าง ทหารญี่ปุ่นใน แมนจูกัว ประเทศจีน ซึ่งมีสถานการณ์ที่ตึงเครียด, จนในที่สุดก็กลายเป็นการสู้รบ ณ สะพานมาโค โปโล ในท้ายสุด
    
ในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1938 Sugiyama ได้อาสาไปเป็นผู้บังคับบัญชา ณ กองทหารจีนภาคอุดร และหัวหน้ากองกำลังพิเศษมองโกลเลีย

สงครามโลกครั้งที่สอง

การเดินทางกลับญี่ปุ่นในปี 1939 เขาได้เดินทางไปศาลเจ้ายาสุกุนิ

วันที่ 3 ตุลาคม 1940 เขาได้ทำงานแทน เจ้าชาย(มรว.)คังอิน โคโตฮิโตะ. ในวันที่ 5 ตุลาคม 1941, ได้มีแนวโน้มที่จะทำสงครามกับสหราชอาณาจักรอเมริกาและสหราชอาณาจักรมากขึ้น, เขาเป็นบุคคลที่ถูกองสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ฮิโรฮิโตะทรงพระตำหนิอยู่บ่อยครั้ง ในเรื่องดุลยพินิจที่จะบุกจีนในปี 1937 ที่ว่าญี่ปุ่นจะกำชัยเหนือจีนภายในสามเดือน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถที่จะทำสงครามยึดจีนให้ได้เร็วกว่าที่ตะวันตกเคยทำได้
Sugiyama ได้ถูกยกย่องและได้รับองพระราชทานยศนายทหารบกทั้งเหล่าให้แก่เขาในปี 1943. ในขณะที่ทัพของเขาถูกพันธมิตรทำลายเรียบ Sugiyama ได้แก้ไขโดยความช่วยเหลือของ นายพลโทโจฮิเดกิในวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ ปีค.ศ. 1944


10 วันหลังจากวันที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ เขาได้ยิงตัวตายด้วยปืนสี่นัดที่ของทำงานของเขา ในขณะเดียวกันที่บ้านเขาภรรยาเขาก็ฆ่าตัวตาย หลุมศพของพวกเขชาฝังอยู่เคียงข้างกันในสุสาน ทามะ, ณ Fuchū, Tokyo.

Saturday, September 26, 2009

Phrases from the Australian Army’s Manual about the Japanese Army

Some Key Adjectives/Phrases from the Australian Army’s Manual about the Japanese Army (1940s)
สิ่งที่ชาวออสซี่พูดถึงเกี่ยวกับทหารญี่ปุ่น
 http://www.quikmaneuvers.com/sitebuilder/images/Imperial_Japanese_Army_Secrets_WWII-293x216.jpg



เพลงเสริมอารมย์


- คลั่งไคล้ในเรื่องการสร้างเรื่องเล่าขาน, ชอบการรบประจันบานแบบสู้จนวินาทีสุดท้าย
- ฝึกทหารแบบสุดทรหด
- แข็งแกร่ง, ดื้อดึง, โดดเดี่ยว, ถึกทรหด, กล้าหาญ (โดยเฉพาะตอนอยู่เป็นกลุ่ม)
- ถนัดสุดๆในเรื่องการพรางตัว
- มีระเบียบวินัย, กล้าสุดขั้ว
- การยอมแพ้ไม่ใช่ทางเลือก, สู้จนตัวตายดีกว่า
- นักแม่นปืนยิงไม่ค่อยแม่น
- ถล่มหนักๆคือทางเลือกที่ดีที่สุด
- พยายามทำให้ทหารของฝ่ายตนเองเชื่อว่าตัวเองนั้นดียิ่งกว่าใคร
- รถถังไม่มีประสิทธิภาพ, แต่เครื่องยนต์นั้นทนทายาท. และไม่ีมีรถถังติดอาวุธหนัก
- รถถังและยานเกราะนั้นมีหน้าที่ส่งเสริมการโจมตีของกองทัพบก(ไม่ได้มีใว้สู้กับรถถัง)


http://www.quikmaneuvers.com/images/Imperial_Japanese_Army_Joint_Operations.jpg 万歳! BANZAI!

Wednesday, September 2, 2009

Imperial Japanese army were afraid of fighting Siamese army

       เช้าของวันที่ 8 ธ.ค.5484 กองทัพญี่ปุ่น ได้บุกเข้าประเทศไทย 8 ทิศทางคือ ทางบกเข้ามาที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางน้ำ โดยการยกพลขึ้นบกตามชายทะเลรวม 7 แห่ง ที่ สมุทรปราการ ประจวบ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี โดยการกระทำดังกล่าวเพื่อขอเคลื่อนย้ายกองทัพของตนผ่านประเทศไทยเพื่อไปโจมตีและยึดครองพม่าและมาลายูของอังกฤษต่อไป
การต่อสู้ของยุวชนทหาร
http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/naomi/picture/00019_4.jpg 
http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/naomi/picture/00019_4.jpg  ขอบคุณที่เอ้อเฟื้อรูปถ่าย
     เมื่อเช้าวันที่ 8 ธ.ค.2484 ทหารญี่ปุ่นประมาณ 2 กองพัน ได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพล 2 แห่งคือ บ้านแหลมดินและบ้านคอสน ทหารญี่ปุ่นที่บ้านแหลมดิน ได้แบ่งส่วนล่วงหน้า จัดรูปชบวนการเดินไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ถนนชุมพร-ปากน้ำ ทหารญี่ปุ่นที่บ้านคอสนเคลื่อนที่ ไปทางใต้ตามแนวชายฝั่ง และจะไปสมทบกับกำลังพลส่วนล่วงหน้าที่สะพานท่านางสังข์เพื่อเข้าสู่เมืองชุมพร
..................หลวงจรูญประศาสน์ ข้าหลวงจังหวัดชุมพรทราบข่าวการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นที่บ้านแหลมดินและบ้านคอสน เมื่อ 0630 น. จึงสั่งให้ พ.ต.ต.หลวงจิตการุณราษฏร์ ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดชุมพร และ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52 จัดกำลังไปต้านทหารญี่ปุ่นที่จะเข้ามาทางปากน้ำชุมพร ต่อมาเพื่อเวลา 07.15 น. ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้เคลื่อนย้ายกำลังยุวชนทหารออกไปปฏิบัติการณ์โดยแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่ 1 ใช้กำลังยุวชนทหาร 5 คน ตำรวจ 5 คน อส.1 คน พร้อมด้วยปืนกลเบา 1 กระบอก ในความควบคุมของจ่านายสิบจง แจ้งชาติ เคลื่อนย้ายกำลังออกไปยังอ่าวพนังตัก ส่วนที่ 2 ใช้กำลังยุวชนทหาร 30 คน ในการควบคุมของ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน และสิบเอกสำราญ ควรพันธ์ เคลื่อนย้ายกำลังไปเชิงสะพานท่านางสังข์
..................เวลาประมาณ 0900 ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้ตรวจการณ์เห็นทหารญี่ปุ่นอยู่ในสวนมะพร้าวและป่าข้างทาง จึงสั่งให้จัดรูปขบวนรถเป็นแนวตั้งฉากกับถนน และกระจายกำลังข้าศึก ต่อมาเมื่อเวลา 0915 น. กำลังยุวชนทหารได้เริ่มทำการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นอย่างรุนแรง จนถึงเวลา 09.30 น.ปรากฏว่าร้อยเอกถวิล นิยมเสน ถูกกระสุนปืนข้าศึกเสียชีวิตทันที สิบเอกสำราญ ควรพันธ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนและได้สั่งการให้ทำการยิงต่อสู้กับข้าศึกจนทำให้ตัวเองถูกยิงที่แขนขวาบาดเจ็บสาหัส ไม่สามารถทำการยิงต่อข้าศึกได้ และสามารถอำนวยการรบได้ จนถึงเวลา 12.00 น. จึงได้สั้งให้ยุติการรบ ผลการต่อสู้ ฝ่ายเราเสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 5 คน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิต 11 คน บาดเจ็ บ7 คน
http://www.debsirin.or.th/history/Nuni4.JPG

.................การต่อสู้ของกองบินน้อยที่ 5
..................เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธ.ค.2484 ทหารญี่ปุ่นประมาณ 1 กรมผสม ได้ยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวและอ่าวประจวบ จังหวัดประจวบ ฯ โดยนำเรือขนาดใหญ่มาจอดทอดสมอไว้ที่หลังเกาะเหลื่อม แล้วใช้เรือท้องแบนหุ้มเกราะลำเลียงพลเข้าสู่เป้าหมาย เพื่อเข้ายึดกองบินน้อยที่ 5 ขณะนั้นมี นาวาอากาศตรี หม่อมหลวงประวาศ ชุมสาย เป็นผู้บังคับกองบินน้อยที่ 5 โดยทหารญี่ปุ่นแบ่งทหารออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เวลา 0400 น.ยกพลขึ้นบกเข้ายึดตัวเมืองประจวบ ฯ โดยมีกำลังทหารญี่ปุ่น 2 กองพัน ส่วนที่ 2 ยกพลขึ้นบกยึดกองบินน้อยที่ 5 ด้านอ่าวประจวบ ได้ทำการต่อต้านอย่างเต็มความสามารถ แต่เนื่องจากฝ่ายเรามีกำลังน้อยกว่า ทหารญี่ปุ่นจึงสามารถทำการยึดกองรักษาการณ์ได้ ส่วนที่ 3 ยกพลขึ้นบกยึดกองบินน้อยที่ 5 ด้านอ่าวมะนาว ฝ่ายไทย โดยมี เรืออากาศตรี ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม เป็นผู้ควบคุม โดยมีกำลังทหารกองประจำการ 40 นาย และรวบรวมข้าราชการและกำลังส่วนต่าง ๆ สมทบทั้งหมดประมาร 100 คน ทำการต่อสู้ญี่ปุ่น
................เวลาประมาณ 0800 น. ทหารญี่ปุ่นได้ส่งกำลังเข้ามาโดยเรือลำเลียงขนาดเล็ก 3 ลำ เข้ามาทางด้านซ้ายของเขาล้อมหมวก แล้วถูกฝ่ายไทยยิงจม 2 ลำ อีก 1 ลำหนี เหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้บังคับกองบินน้อยที่ 5 จึงได้สั่งการให้เผาคลังน้ำมัน อาคาร เพื่อมิให้ทหารญี่ปุ่นใช้ประโยชน์
...............การต่อสู้ของขบวนการเสรีไทย
..............เมื่อรัฐบาลไทยยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย และได้ลงนามในกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่าง-ญี่ปุ่น เมื่อ 21 ธ.ค.2484 ต่อมาไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐ เมื่อ 25 ม.ค.2485 ทำให้คนไทยอยู่ในประเทศอังกฤษและสหรัฐไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย จึงเกิดขบวนการต่อต้านทหารญี่ปุ่น เรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโปช. เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ซึ่งจัดตั้งในประเทศอังกฤษ ในไทยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ได้ประสานงานกัน และแทรกซึมเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศ และผนึกกำลังกับกำลังทหารในประเทศ และพร้อมที่จะผลักดันทหารญี่ปุ่น แต่สงครามได้ยุติลงเสียก่อน
.............สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทหารญี่ปุ่นยองแพ้สงครามคือ 6 ส.ค.2488 สหรัฐ ได้ทิ้งระเบิดปรมณูลงที่ ฮิโรชิมา ทำให้ผู้เสียชีวิต 66,000 บาท บาดเจ็บ 69,000 คน และต่อมาใน 9 ส.ค.2488 สหรัฐ ได้ทิ้งระเบิด ที่ นางาซากิ มีผู้เสียชีวิต 184,000 คน บาดเจ็ม 125,000 คน หลังจากนั้น สมเด็จจักรพรรคิฮิโรชิโต ทรงยอมแพ้สงคราม เมื่อ 15 ส.ค.2448
                 การสูญเสียกำลังพลของไทย เสียชีวิต 5,957 คน

Feed up

Freebacklink