Can't find topic? find here

Adsense

Saturday, April 21, 2012

Beyonnet infantry's bestfriend




ใน การทำสงครามอาวุธหลายชนิดหลายรูปแบบถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ การเข่นฆ่าฝ่ายตรงข้ามให้ได้ หลายคนอาจจะนึกถึงปืนไรเฟิลอัตโนมัติ ปืนลูกซอง ปืนซุ่มยิงระยะ หรืออาจจะนึกถึงปืนกลเบายิงกระสุนได้เป็นสาย  บางคนอาจจะนึกไปถึงเครื่องยิงจรวด ขีปนาวุธพิสัยไกล หรือยุทโธปกรณ์หนักๆทั้งหลายที่สามารถเข่นฆ่าฝ่ายตรงข้ามจากระยะไกลๆได้ แต่หลายคนเคยนึกถึงอาวุธชนิดนึงหรือเปล่าที่เป็นอาวุธที่โบราณแบบสุดๆแต่มัน ไม่เคยหายไปจากสมรภูมิรบบนโลกใบนี้สักที   ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึง มีด  หรือถ้าให้ตรงกับกระทู้นี้ก็คงจะต้องเรียกว่า ดาบปลายปืน 
เจ้าดาบปลายปืนหรือที่พวกฝรั่งมังค่าชอบเรียกขานกันว่า "Bayonet" นั้นถูกคาดกันว่ามีการริเริ่มใช้กันในยุโรปราวๆสมัยคริสต์ศตวรรษที่17ครับ เพราะปืนคาบศิลาที่ถูกผลิตออกมาใช้ในยุโรปช่วงแรกๆนั้นจะยังไม่มีการติดตั้งอาวุธมีคมเช่นดาบปลายปืนเอาไว้ที่ปลายกระบอกครับ

ซึ่ง "ดาบปลายปืน" นั้นนักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากเมือง "Bayonne" ที่อยู่ทางตอนใต้ของดินแดนน้ำหอมฝรั่งเศสครับ โดยบันทึกหลาย แห่งกล่าวกันว่าเรื่องของเรื่องมาจากการที่ผู้คนส่วนใหญ่ในเมืองนั้นซึ่ง เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกเรียกกันว่า "Basques" ได้เกิดภาวะขาดแคลน "ดินปืน" แล "กระสุนดินดำ" ที่จะนำมาใช้กับปืนคาบศิลาของตนเอง

ดังนั้นพวกเขา จึงได้นำเอาอาวุธมีคมจำพวก "มีดล่าสัตว์" มาดัดแปลงแลติดตั้งเอาไว้บริเวณปลายกระบอกปืนคาบศิลาเพื่อจะได้สามารถนำปืน ของตนเองมาใช้ในการรบในระยะประชิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แต่ก่อนเวลากระสุนหมดแล้วจวนตัวหยิบดาบไม่ทันจริงๆ พวกทหาร Musket ก็มักจะเอาปืนมาฟาดใส่กันแบบกระบองครับ -_-") จนต่อมาวัฒนธรรมการติดดาบไว้ที่ปลายปืนจึงเริ่มแพร่หลายไปทั่วกองทัพของ ฝรั่งเศสแลยังต่อเนื่องไปถึงประเทศในแถบยุโรปนั่นเองครับ

รูปดาบปลายปืนในของทหารฝรั่งเศษในยุคแรกๆ


โดยเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมการติดดาบปลายปืนนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วก็เพราะว่าในสมัยก่อนนั้นปืนที่บรรดาทหารเขาใช้กันจะเป็น "ปืนคาบศิลา" ครับ ซึ่งไอ้เจ้าปืนคาบศิลาเนี่ยมันจะมีกลไกการทำงานไม่เหมือนปืนในสมัยนี้ เพราะการจะยิงออกมาได้แต่ละนัดนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการบรรจุนานพอสมควร ยิ่งสมัยที่พวกทหารยุโรปยังใช้ระบบกลไกของปืนคาบศิลาแบบ "ฟรินทซ์ล็อค" หรือ "วีลล็อค" ซึ่งมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะทหารจำต้องยัดลูกกระสุนพร้อมกระดาษชนวนไปที่ปากกระบอกก่อนจะเทดินปืนกรอกตามลงไปแล้วนำเหล็กยาวๆมาแยงๆๆจึงจะยิงออกมาได้

แม้ ต่อมาจะได้มีการพัฒนามาใช้ "แก๊ป" ซึ่งบรรจุทุกอย่างไว้ในซองเดียวกันครบเซ็ท โดยทหารทำเพียงแค่กัดฉีกตรงปากซองแล้ว ยัดๆๆ แยงๆๆก็สามารถลั่นไกยิงได้ แต่ยังไงก็ตามการบรรจุกระสุนทุกรูปแบบก็ล้วนต้องเสียเวลาในการเตรียมยิงแต่ ละครั้งนานพอสมควร นั่นจึงเป็นช่องทางให้ "ทหารม้า" ของข้าศึกมีโอกาสพุ่งเข้าชาร์จใส่แถวทหารปืนคาบศิลาจนแตกกระบวน เลยทำให้ สมัยก่อนเวลารบกันด้วยปืนในยุคแรกๆนั้น "กองพลปืนคาบศิลา" จึงจำเป็นต้องมีทหารราบติดอาวุธยาวจำพวก "หอก" คอยคุ้มกันไปด้วยเพื่อปกป้องกำลังพลของผ่ายตนเองจากทหารม้าของข้าศึกนั่นเอง ครับ

(..รูปดาบปลายปืนที่นิยมใช้กันในช่วงปลายยุคคริสต์ศตรวรรษ ที่19 ซึ่งเป็นสมัยที่พวก "ผู้ดีตีนแดง" อังกฤษยังเป็นเจ้าโลกอยู่ โดยในยุคนี้ดาบปลายปืนจะเริ่มมีด้ามจับแบบมีดแล้วและใช้วิธีล็อคติดกับแกน ด้านล่างของปืน ต่างกับสมัยก่อนหน้าที่มักจะทำเป็นรูกลวงไว้ตรงปลายเพื่อเอาไว้สอดล็อคตรงลำ กล้องปืนครับ..)





 
ซึ่ง แม้ว่าเหล่าบรรดา "พลทหารหอก" นั้นจะสามารถต่อกรกับ "ทหารม้า" ได้ดีเยี่ยมแค่ไหนก็ตาม แต่สุดท้ายแล้ว "พลทหารราบติดหอก" ก็ยังเปรียบเสมือนเป้าชิ้นโตให้ "พลปืนคาาบศิลา" ของข้าศึกไล่สอยจนร่วงระเนระนาดอยู่ดี โดย  จะขอยกตัวอย่างง่ายๆในกรณีนี้คือถ้าเพื่อนๆท่านใดเคยเล่นเกมส์ "RPG" บ่อยๆคงจะรู้จักกับ "กฏการเป่ายิ้งฉุบ" ดีครับ กล่าวคือทหารราบมักจะแพ้ทหารม้าทหารม้าแพ้ทหารหอก ทหารหอกแพ้ทหารธนู ทหารธนูแพ้ทหารราบและทหารม้าเป็นต้นครับ

เข้า เรื่องกันต่อครับ ^_^ โดยเหตุผลหนึ่งที่พวก "ทหารหอกยาว" มักจะเสียเปรียบ "พลปืนคาบศิลา" นั้นมาจากการที่ในยุคดังกล่าว "เสื้อเกราะ" ที่สามารถทนทานต่ออำนาจการทะลุทะลวงของปืนคาบศิลาได้นั่นยังไม่ค่อยจะมีครับ ส่วนเกราะแบบที่ทนทานต่ออำนาจของลูกปืนได้ก็ยังมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้าง สูงแลมีขนาดเทอะทะแลน้ำหนักมากจนไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานในวงกว้างครับ

ดัง นั้นแนวคิดที่จะรวม "พลปืนคาบศิลา" กับ "พลหอก" เข้าด้วยกันจึงมาสำเร็จเอาได้เพราะเจ้า "ดาบปลายปืน"นี่แหละครับ ที่บรรดาทหารสามารถนำมันมาติดกับปืนคู่กายแลใช้เพื่อต่อกรกับม้าของข้าศึก ได้ (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่18มีการพัฒนา "ดาบปลาบปืน" ให้มีลักษณะยาวขึ้นครับ โดยถึงแม้จะเกะกะแต่ก็เหมาะอย่างยิ่งในการรับมือกับทหารม้าของข้าศึก)

**รูปภาพแสดงถึงคุณประโยชน์ของ "ดาบปลายปืน" ที่สามารถช่วยปกป้อง "พลปืนคาบศิลา" จากบรรดาทหารม้าได้**


โดยยุทธวิธีการรบด้วย "ปืนคาบศิลา" ในสมัยก่อนนั้นล้วนมีการใช้แนวคิดในการจัดแถวแลสลับสับเปลี่ยนรูปขบวนอยู่มากมายหลากหลายแบบครับ โดยเหตุผลนั้นก็ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นก็คือการบรรจุลูกกระสุนแต่ละครั้งนั้นค่อนข้างใช้เวลานานแถมกระสุนที่ยิงออกไปก็ยังเอาแน่เอานอนหาความแม่นยำไม่ค่อยจะได้ ดังนั้นการจัดทัพแลรูปขบวนการยิงให้เหมาะสมอย่างถูกจังหวะแลเวลาจึงเป็นตัวชี้วัดผลของการรบในครั้งนั้นได้เลย

ซึ่ง โดยส่วนมากแล้วบรรดาประเทศแถบยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักใช้วิธีจัดทัพพล ปืนแบบ "ทรงจัตุรัส" หรือ "สี่เหลี่ยมผืนผ้าตอนลึก" ครับ ซึ่งมีหลักปฏิบัติอย่างง่ายๆดังนี้คือพอทหารแถวแรกยิงเสร็จปุ๊ป!(ถ้ายังไม่ ตายซะก่อนนะ -_-") ก็จะรีบวิ่งวนไปต่อท้ายแถวด้านหลังสุดของขบวนทันทีก่อนจะเปิดโอกาสให้แถวต่อ ไปได้ยิงทันที แลทหารทุกแถวก็จะทำเช่นนี้กล่าวคือพอยิงเสร็จก็รีบวิ่งวนไปด้านหลังเพื่อ บรรจุกระสุน ซึ่งกว่าที่ทุกแถวจะยิงจนเสร็จทหารแถวแรกที่วิ่งไปต่อท้ายก่อนใครเพื่อนนั้น ก็จะบรรจุกระสุนเสร็จแลพร้อมยิงต่อทันทีโดยไม่ติดขัดครับ

แต่ตาม ปรกติแล้วมักจะมีเหตุให้ไม่สามารถกระทำเช่นนี้ได้ตลอดเวลาครับ เช่นกองทหารถูก "ทหารม้า" ข้าศึกวิ่งชาร์จเข้าใส่ ถูกทหารข้าศึกตีกระหนาบจากอีกด้านหนึ่ง โดนซุ่มโจมตีระหว่างเดินทัพ หรือต้องทำการรบในช่วงที่ยังจัดรูปกระบวนไม่เสร็จเป็นต้น ดังนั้นภาระจึงตกไปเป็นของนายทหารซึ่งมีหน้าที่สั่งการ ที่ต้องใช้ความเฉลียวฉลาดของตนเองมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการจัดรูปกระบวนของ ปืนคาบศิลาครับ อาทิเช่นถ้าถูกทหารม้าล้อมกรอบก็ต้องรีบจัดแถวขบวนเป็นวงกลมเพื่อที่บรรดา ทหารจะได้สามารถยิงใส่ข้าศึกในทิศทาง360องศาเป็นต้นครับ

**รูปภาพแสดงถึงวิธีการบรรจุ "แก๊ป" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้การบรรจุลูกกระสุนของปืนคาบศิลามีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นครับ**

โดยจำนวนของแถวในรูปกระบวนต่างๆของทหารปืนในยุคนั้น (คริสต์ศตวรรษที่18-ต้นคริสต์ศตวรรษ19) มักจะมีหลายแบบครับเช่น10แถวบ้าง15แถวบ้างอะไรเทือกนี้ครับ เพียงแต่มันจะมีอยู่ประเทศหนึ่งที่ "ทะลึ่ง" มาแปลกกว่าชาวบ้านชาวช่องเขานั่นก็คือพวก "ผู้ดีตีนแดงแห่งเกาะอังกฤษ" ครับ โดยพลปืนของกองทัพอังกฤษสมัยนั้นมักจะจัดรูปขบวนการยิงแค่สองถึงสามแถวเป็นแนวยาว(แถวหน้านั่งยองแถวหลังยืน) หรือถ้าต้องทำการรบด้วยกำลังพลในคราวละมากๆก็มักจะจัดแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่เน้นความลึกแลใช้ทหารมากมายก่ายกองเหมือนประเทศอื่นๆเขา

สาเหตุ นั้นก็เพราะชาวอังกฤษถือดีว่าทหารแต่ละคนของตนนั้นล้วนเป็น "ทหารอาชีพ" ซึ่งมีฝีไม้ลายมือมิใช่ขี้ๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่แปลกหรอกครับที่ชาวอังกฤษจะสามารถโอ้อวดแบบนี้ได้ เพราะทหารราบอังกฤษในสมัยก่อนนั้นจำเป็นต้องฝึกหนักมากกว่าที่จะออกรบจริง ได้ จริง นั่นจึงทำให้พวกเขาสามารถใช้เวลาในการบรรจุกระสุนได้อย่างรวดเร็วมากกว่า ทหารทั่วไป ดังนั้นการจัดแถวแค่สองหรือสามแถวจึงเพียงพอต่อรูปแบบการยิงแล้ว (แต่ความถือดีเช่นนี้พอมาเจอพวกกองโจรชาวอาณานิคมมะริกันในการรบเพื่อประกาศ อิสรภาพที่อเมริกา กองทหารเสื้อแดงของอังกฤษก็ต้องแพ้ร่นไม่เป็นท่าเหมือนกันครับ)

(..ภาพการจำลองรูปแบบการตั้งแถวยิงของบรรดาทหารอังกฤษหรือ "เรดโค๊ท" ในสมัยก่อนครับ..)



โดยดาบปลายปืนนั้นเป็นที่นิยมเรื่อยมากระทั่งเมื่อถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่2 (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945เป็นต้นมา) ในยุคนี้อาวุธประจำกายของทหารราบนั้นสามารถที่จะทำการเล็งยิงได้แบบอัตโนมัติแล้วอีกทั้งยังมีประสิทธิภาพ ระยะยิง แลความแม่นยำที่เชื่อใจได้มากแลใช้เวลาไม่นานในการบรรจุกระสุน

นั่นจึงทำให้บทบาทของ "ดาบปลายปืน" จึงเริ่มลดน้อยถดถอยลงไปตามลำดับ โดยดาบปลายปืนสมัยนี้จะถูกลดขนาดลงมาจนกลายสภาพมาเป็นมีดพกของทหารที่สามารถนำมาติดไว้ที่กระบอกปืนด้วยอุปกรณ์เสริมมากกว่าครับ

(..รูปภาพของเจ้า "OKC-3S" หรือมีดพก "M9" ของทหารมะริกัน ที่ถูกพัฒนาโดยเหล่าคอหนัง "นาวิกโยธิน" เพื่อนำมาใช้ติดตั้งกับปืนไรเฟิลประจำกายครับ..)
 
ซึ่ง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ดาบปลายปืนจะถูกลดขนาดลงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะ ไร้คุณค่าในการสงครามที่เน้นในเรื่องเทคโนโลยีการยิงระยะไกลเข้ามาแทนการรบ พุ่งแบบประจัญบานในสมัยก่อนแต่มันก็ยังคงถูกบรรจุอยู่ในอุปกรณ์ทหารขึ้นพื้น ฐานของทหารทั่วโลกครับ



ใน สนามที่มีสภาพเป็นเกาะแก่งหรือพุ่มไม้แบบในสงครามโลกครั้งที่สอง ( รบกับญี่ปุ่น ) ดาบปลายปืนมีความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆเพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าทหาร ญี่ปุ่นจะบุกเข้ามาพุ่งชารต์ตอนไหน
 

No comments:

Post a Comment

Feed up

Freebacklink